หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

อย่าลืมว่า...ต่างคนต่างก็ยังมีหัวใจของตัวเอง


    อาจเพราะการแสดงอาการครอบครอง หึงหวง เอาใจใส่ ดูแลกันและกัน เป็นเรื่องที่ดีในสำหรับ "ความรัก" แต่บางครั้งอย่าลืมว่าในทุกสิ่งทุกอย่าง อะไรที่มากเกินจนคำว่า "พอดี" มันจะกลายเป็น "อึดอัด" ..."รำคาญ" ...และ "เบื่อหน่าย" มากกว่าสุขจนล้นใจ 

     ทำไมไม่ทำแบบนี้...ใส่เสื้อตัวนี้ซิดูดีออก...ใส่กาง เกงตัวนี้เธอดูอ้วน มาก...กินทำไมไม่เห็นจะมีประโยชน์...เมื่อไหร่จะเลิก เล่นเกมซะที...เธอคิด ว่าที่ทำอยู่มันดีแล้วเหรอ บลาๆๆๆๆ และอีกมากมายหลายหลากถ้อยคำที่ออกมาจากปากคนรัก จะด้วยความตั้งใจ ประชดประชัน หรือพูดไปโดยไม่คิดอะไรก็ตาม แต่บางครั้งมันก็ไปโดนใจคนฟัง ชนิดที่ทำร้ายความรู้สึกกันมากทีเดียว 

"อย่าลืมว่าทุกคนต่างก็มีหัวใจเป็นของตัวเอง" ควรเว้นที่ว่างให้กันและกันได้พักหายใจบ้าง ได้ทำอะไรตามความชอบของตัวเองบ้าง เพราะต่างคนต่างที่มา ต่างคนต่างความคิด จะให้ชอบหรือทำอะไร ๆ เหมือนกันไปซะทุกอย่างมันเป็นไปไม่ได้หรอก ในเมื่อคิดจะรักกันแล้ว ก็ต้องเข้าใจกันและกันด้วย อย่าพยายามเข้าไปวุ่นวาย หรือเจ้ากี้เจ้าการอะไรให้มันมากนัก เอาแบบพอดี ๆ หรือเลือกที่จะใช้คำพูดเบาบางลง เพื่อลดความอึมครึมก็ดีเหมือนกันนะ 

ที่สำคัญคือควรเคารพในพื้นที่ส่วนตัวของกันและกัน อย่าให้อีกคนหนึ่งยิ้ม แต่อีกคนหนึ่งต้องฝืนทนทำในสิ่งที่ไม่ชอบเลย
เพราะความรักจะงดงามได้หากคุณทั้งสองคนมีความสุขไปพร ้อม ๆ กัน เพียงเท่านี้...ชีวิตรักของคุณจะมีความสุขในทุก ๆ วันแล้วล่ะ

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ความเชื่อผิดป่วยมะเร็งต้องกินแค่ผักปลา

มะเร็ง โรคร้ายที่ไม่มีใครอยากเป็น แต่เป็นแล้วใช่ว่าจะจบชีวิตลงทันทีเสียที่ไหน

หนทางรักษามีมากมาย ทั้งกินยา ผ่าตัด ฉายรังสี หรือยาเคมีบำบัด ซึ่งในช่วงการรักษาหรือตั้งแต่ที่ผู้ป่วยทราบว่าตนเองเป็นโรคมะเร็ง ก็มักจะได้รับการบอกกล่าวและเชื่อตามกันมาว่า ต้องกินแต่ปลากับผักเท่านั้น เนื่องจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์อื่นที่ไม่ใช่ปลาจะมีผลให้เซลล์มะเร็งเติบโต
นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ และอุปนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวระหว่างเสวนา "อาหารนั้นสำคัญไฉนในผู้ป่วยมะเร็ง" ว่า ความเชื่อดังกล่าว เป็นความเข้าใจที่ผิด! เพราะแม้ไม่กินอะไรเลย เซลล์มะเร็งก็ยังเจริญเติบโตได้อยู่ดี ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับสารอาหารหรือโปรตีนอย่างถูกต้องเพียงพอ จะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร น้ำหนักตัวลดลง ร่างกายทนต่อการรักษาได้น้อยลง ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร

โดยเฉพาะช่วงหลังจากที่ป่วยผ่านการผ่าตัด ฉายรังสี หรือเคมีบำบัดไป ร่างกายยิ่งต้องการโปรตีนมากกว่าปกติ เพื่อรักษาเนื้อเยื่อในร่างกายและต่อสู้กับการติดเชื้ออักเสบ ดังนั้น การขาดโปรตีนจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวช้า ความต้านทานการอักเสบต่ำ

ส่วน พญ.สิรกานต์ เตชะวนิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โภชนการ เผยว่า ผู้ป่วยมะเร็งต้องได้รับสารอาหารได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน น้ำ และวิตามินกับเกลือแร่ เพื่อต่อสู้กับมะเร็ง

โปรตีนที่ควรกินนั้น ประกอบด้วย เนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วฝักแห้ง ถั่วฝักเมล็ดกลมหรือพี และถั่วเมล็ดแบนหรือเลนทิลส์ รวมถึงอาหารจากเต้าหู

ส่วนคาร์โบไฮเดรต อันเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย ควรกินจากผัก ผลไม้ โฮลเกรนหรือธัญพืชเต็มเมล็ด ขณะที่ไขมันหรือน้ำมัน ควรเลือกที่ผลิตจากกรดไขมัน เว้นแต่ผู้ที่ปัญหาโรคหัวใจและคอเลสเตอรอลสูง ให้เลือกไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันพืช น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วพีนัท น้ำมันดอกทานตะวัน

สำหรับน้ำ ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เนื่องจากเป็นตัวช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น สุดท้ายวิตามินและเกลือแร่ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและแข็งแรง ที่จำเป็นต้องได้รับ คือ วิตามิน A C และ E ธาตุเหล็ก แคลเซียม และโซเดียม

ทั้งนี้ ยังมีอาหารที่ควรจำกัด อย่ากินมาก คือ ประเภทไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ และอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักเกลือ รมควัน ดอง ควรเลือกใช้วิธีอบหรือต้มในการปรุงอาหาร และที่สำคัญคือ งดดื่มแอลกอฮอล์

ทว่าผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดแล้วมีอาการข้างเคียงอย่างภาวะเม็ดเลือดต่ำ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ แนะให้งดอาหารไม่สุก ของหมักดอง เฉพาะกรณีที่เม็ดเลือดขาวต่ำ ให้งดผักและผลไม้สดไปชั่วคราว